จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติแขวงบำรุงทางศรีราชา

ประวัติทางสายสัตหีบ และประวัติแขวงบำรุงทางศรีราชา
โดย......สมบุญ ธรรมวรางกูร
            เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2512 ทางรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี เพื่อก่อสร้างทางรถไฟระหว่างสถานีฉะเชิงเทรา – สัตหีบ (ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 86 ตอนที่ 114 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2512) ซึ่งทางการรถไฟได้ทำการสำรวจและวางแนวเขต พร้อมเวนคืนที่ดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 – พ.ศ.2520 และได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าวประมาณปี 2524 – 2528 ทางสายดังกล่าว จะทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา ซึ่งจะต้องขยายย่านนี้เพื่อเพิ่มรางหลีกและความยาวของรางหลีกที่จะรองรับชุมทางสายใหม่เมื่อเปิดบริการ จากนั้น สร้างสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ยกระดับทางรถไฟยาว 2,700 เมตร ผ่านดอนสีนนท์ บ้านเกาะลอย – พานทอง – ดอนหัวฬ่อ แล้ววิ่งเข้าชลบุรี ตรงไปยังเขาพระบาท – อ่างเก็บน้ำบางพระ – สถานีชุมทางศรีราชา – บางละมุง – พัทยา – เขาชีจรรย์ เฉียดเข้าสนามกอล์ฟพลูตาหลวง แล้วสุดปลายทางที่ท่าเรือสัตหีบ เพื่อรับสินค้าอุตสาหกรรมหนัก – เบา จากท่าเรือแหลมฉบังและสัตหีบ ซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต (ปัจจุบันได้เกิดขึ้นและได้ประกาศใช้แล้ว) แต่ก่อนหน้าที่จะใช้เพื่อการขนส่งสินค้าดังกล่าวอย่างเต็มที่ การรถไฟฯ จะเปิดบริการแก่ประชาชนในการเดินทางไปพักผ่อนหย่อนใจยังชลบุรี – พัทยา ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการบริการให้แก่ผู้มีรายได้น้อย และเมื่อได้ก่อสร้างแล้วเสร็จแล้ว การรถไฟฯ ได้ประกาศใช้
        ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ.2532 การรถไฟฯ ได้ออกคำสั่งจัดตั้งแขวงบำรุงทางฯ เพื่อดูแลบำรุงรักษาทาง สะพาน อาคารในทางสายใหม่ (สายฉะเชิงเทรา – สัตหีบ)โดยให้ชื่อว่า “แขวงบำรุงทางศรีราชา”
โดยมีผู้บังคับบัญชาสูงสุดคือ “สารวัตรแขวงบำรุงทางศรีราชา” ในระหว่างการจัดตั้งแขวงบำรุงทางศรีราชาครั้งแรกกำหนดให้แขวงบำรุงทางศรีราชาขึ้นอยู่ในสังกัดของ วสข.ฉะเชิงเทรา ที่ศรีราชา กองก่อสร้าง ฝ่ายการช่างโยธา (สาเหตุเนื่องจากการก่อสร้างในสายนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะมีทางแยกระหว่างเขาชีจรรย์ไปมาบตาพุด-บ้านฉาง ศรีราชาไปแหลมฉบัง)
รายนามสารวัตรแขวงบำรุงทางศรีราชา
    1. นายจำรัส เสกตระกูล ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 8 เมย.2532 – 20 พ.ค.2534 สังกัด วสข.ฉะเชิงเทราที่ศรีราชา กองก่อสร้าง ฝ่ายการช่างโยธา
    2. นายชาญ มีแก้ว ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 21 พ.ค.2534 – 26 ธ.ค.2534 สังกัดกองบำรุงทางเขตกรุงเทพ ฝ่ายการช่างโยธา
    3. นายสมหมาย ร่วมวงษ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 27 ธค.2534 – 27 มิย.2537 สังกัดกองบำรุงทางเขตกรุงเทพ ฝ่ายการช่างโยธา
    4. นายประสาน สีม่วง ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 28 มิย.2537 – 30 กย.2543 สังกัดกองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา ฝ่ายการช่างโยธา
    5. นายสุชีพ สุขสว่าง ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1 ตค.2543 – 30 กย.2544 สังกัดกองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา ฝ่ายการช่างโยธา
    6. นายธวัช สวัสดิกุล ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1 ตค.2544 – 20 ตค.2549 สังกัด กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา ฝ่ายการช่างโยธา
    7. นายยุทธนา ศักดิ์ศรี ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 6 พย..2549 – 
กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา ฝ่ายการช่างโยธา
    8. นายสุรพล สมวิทย์
    9. นายเอนก สว่างแก้ว
แขวงบำรุงทางศรีราชารับผิดชอบบำรุงรักษาทาง สะพาน อาคารระหว่าง กม.118 – กม…………….. (สายสัตหีบ) กม....................ถึง กม....................... (สายแหลมฉบัง) กม......................ถึง กม......................... (สายมาบตาพุด) มีหน่วยงานย่อยที่รับผิดชอบ คือ
    1. ตอนนายตรวจทางบางพระ
    2. ตอนนายตรวจทางศรีราชา
    3. ตอนนายตรวจทางพัทยา
    4. ตอนนายตรวจทางพลูตาหลวง
    5. ตอนพนักงานสถานที่ศรีราชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น